วัน เวลา อิสลาม
เวลาละหมาดจังหวัดอื่นๆ
รูปภาพ
Facebook Page
Social Share

มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน


 
 
มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม


ชื่อ มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม    ชื่อรอง สามอิน

ละติจูด 13.727590   ลองจิจูด 100.596313

รูปภาพมัสยิด

มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม สามอิน

ประวัติความเป็นมา มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม

 
ประวัติความเป็นมาของมัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม (สามอิน)

ความเป็นมาของบ้านสามอิน


                ในอดีตพี่น้องบ้านสามอินได้ตั้งรกรากขึ้นเมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้อพยพมาจากปัตตานีและกรุงศรีอยุธยาบางส่วน ตามประวัติคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ได้มีมุสลิมมาอยู่เป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ถึงกับผู้หลักผู้ใหญ่บอกว่า “ไก่บินไม่ตกจากหลังคาบ้าน” เปรียบเสมือนการอยู่ร่วมกันของพี่น้องมุสลิมอย่างหนาแน่น


               สำหรับคำว่า “สามอิน” แผลงมาจากคำว่า “สะมะอีน” ท่านเป็นมุสลิมคนแรกของบ้านสามอิน สำหรับคนที่เดินทางผ่านมามักเรียกว่า “ไปบ้านสะมะอีน” จนทุกวันนี้เรียกว่า “หมู่บ้านสามอิน”  ต่อมาพี่น้องบ้านสามอินได้แยกย้ายกันไปตั้งรกรากอยู่ที่ริมคลองตัน นวลน้อย คลองลาดพร้าว คลองจั่น คลองหลอแหล และตามคลองต่าง ๆ อีกหลายแห่ง โดยมีอาชีพทำนา ทำไร่เป็นหลัก และมีอยู่ด้วยกันหลายตระกูล เช่น ตระกูลแฉล้มวารี เพ็งสะและ มูลทรัพย์ เดชะชีพ ไทยเจริญ หมื่นแผงวารี อนันหนับ กำมะหยี่ อมรึก บุญมาเลิศ มีสุวรรณ คล้ายสุวรรณ วงศ์เดอรี มิตรน้อย ม่วงดี มินสาคร ฯลฯ


               ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีพี่น้องมุสลิมรับราชการมีตำแหน่งเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้น ได้แก่ “โต๊ะกีแดง” ได้รับพระราชทานนามว่า “ท่านหมื่นแผงวารี” ท่านได้แต่งงานกับฮัจยะห์ทองคำ ท่านมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ “โต” หรือชื่อมุสลิมว่า “ฮัจยีอับดุลเลาะห์ แฉล้มวารี” ท่านหมื่นแผงวารีได้สร้างคุณงามความดีจนเป็นที่รักของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระราชทานที่ดินย่านหัวหมาก 200 กว่าไร่ ปัจจุบันติดกับสถานีรถไฟหัวหมาก ด้านถนนพระราม 9 และถนนศรีนครินทร์ ต่อมาโต๊ะกีโต บุตรชาย ซึ่งท่านเป็นชาวบ้านธรรมดา ท่านรักในการทำการเกษตร ท่านได้ซื้อที่นาเป็นของตระกูลจำนวนมากมาย โดยเฉพาะหลังวัดธาตุทอง และด้านถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ทุกวันนี้  ท่านสอนให้ลูกหลานและชาวบ้านรักการทำการเกษตรกรรม จนชาวบ้านมีความรักในตัวท่าน เมื่อมีพระราชบัญญัติให้มีกำนัน และ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจึงได้รับเลือกจากชาวบ้านสามอินให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของพี่น้องมุสลิมในหมู่บ้านสามอิน ท่านปกครองลูกบ้านเหมือนพ่อปกครองลูก เอาใจใส่ส่งเสริมด้านการเกษตร โดยจัดให้มีการลงแขก ดำนา เกี่ยวข้าวในหมู่บ้านขึ้น เพื่อช่วยเหลือลูกบ้านให้มีการทำนา ทำไร่ ได้รวดเร็ว ตลอดจนให้ความสะดวกในการติดต่อราชการ จนเป็นที่รักของชาวหมู่บ้านสามอินทุกคน ด้วยคุณงามความดีที่ให้กับชาวบ้านสามอิน จนเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดิน(รัชกาลที่ 5) ได้พระราชทานนามเป็น “ท่านขุนวิจิตรทโนราษฎร์” ซึ่งแปลว่า “ได้ทำนุบำรุงราษฎร ดูแล ปกครองหมู่บ้านได้ดี” ซึ่งเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลของท่านตลอดไป ท่านได้แต่งงานกับนางฟาติมะห์ (โต๊ะวังมะห์) มีบุตร-ธิดารวม 7 ท่าน คือ
  

  1. นางเอาะอ์                    อนันหนับ
  2. ฮัจยะห์โถม                   มิตรน้อย
  3. ฮัจยะห์เล็ก                   ม่วงดี
  4. ฮัจยีอิบรอฮีม                 แฉล้มวารี
  5. ฮัจยะห์มัยมูเนาะห์          วงศ์เดอรี
  6. ฮัจยะห์ซัยหนับ             บุญมาเลิศ
  7. ฮัจยีมูฮัมหมัด                แฉล้มวารี


มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม (สามอิน)


              มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลามหลังแรกเป็นมัสยิดไม้สักชั้นเดียว ตั้งอยู่ริมคลองสามอินห่างจากมัสยิดปัจจุบันประมาณ 500 เมตร ซึ่งต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2490 ฮัจยะห์ซัยหนับ บุญมาเลิศ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 1 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 27153 เลขที่ดิน 2798 หน้าสำรวจ 6798 และได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของมัสยิดฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เนื้อที่ดินทั้งหมด เป็นที่ตั้งของมัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม (สามอิน) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน (กทม.) โรงเรียนสามอินวิทยาซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม(สามอิน) สอนศาสนาภาคฟัรดูอีน และที่ดินบางส่วนถูกเวนคืนทำถนนสุขุมวิท 71 และซอยวิจิตรเลิศในปัจจุบัน มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลามได้รับที่ดินวากัฟ (อุทิศ) จำนวน 17 ไร่ 94 ตารางวา ที่ดินอยู่ที่ซอยนวลจิต(ติดคลองแสนแสบ) ถนนเอกมัย เขตวัฒนา กรุงเทพฯ เป็นที่ดินวากัฟของต้นตระกูลท่านขุนวิจิตรทโนราษฎร์ หรือฮัจยีอับดุลเลาะห์ (โต๊ะกีโต) แฉล้มวารี และ โต๊ะปุก แฉล้มวารี ซึ่งวากัฟโดยบุตรของท่านได้แก่ ฮัจยะห์ถม มิตรน้อย ฮัจยะห์เล็ก ม่วงดี ฮัจยีอิบรอฮีม แฉล้มวารี  ฮัจยะห์มัยมูเนาะห์ วงศ์เดอรี และฮัจยะห์ซัยหนับ บุญมาเลิศ  ได้ร่วมกันทำวากัฟให้มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม เพื่อนำรายได้จากที่ดินวากัฟมาเป็นค่าใช้จ่ายทำนุบำรุงมัสยิดต่อไป


              มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลามหลังจากที่ย้ายออกมาจากริมคลองสามอินมาอยู่ริมถนนสุขุมวิท 71 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 4 วา ยาว 16 วา แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2492 โดยใช้ช่างและแรงงานของชาวหมู่บ้านสามอิน ในอัตราค่าแรงวันละ 10 บาท สมัยนั้น ใช้ประกอบศาสนกิจรวมระยะเวลา 50 ปี และด้วยสภาพทรุดโทรมประกอบกับพี่น้องมุสลิมเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการบริหารมัสยิดฯ ได้มีมติให้มีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2541 โดยเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น เริมวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 โดย ฯพณฯ อาจารย์สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี เป็นประธานในพิธี และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน ฯพณฯ นายสุขวิช รังสิตพล รองนายกรัฐมนตรี ท่านอิหม่ามมะห์มุด วงศ์เดอรี คณะกรรมการและสัปบุรุษมัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม(สามอิน) ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมกัน


            วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ได้เริ่มการก่อสร้างมัสยิดหลังใหม่ โดยการควบคุมของคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง โดยอิหม่ามมะห์มุด วงศ์เดอรี ประธานกรรมการควบคุมการก่อสร้าง ฮัจยีอิสมาแอล บุญมาเลิศ ฮัจยีอับดุลเลาะห์ บุญมาเลิศ รองประธานกรรมการควบคุมการก่อสร้าง


            การก่อสร้างในครั้งนั้น ได้รับการบริจาคจากพี่น้องมุสลิมชาวสามอินและผู้มีจิตศรัทธาหลายท่าน ได้รับบริจาคหินแกรนิตและหินอ่อนจากมุสลิมชาวอาหรับ พร้อมทั้งความร่วมมือร่วมใจจากชาวสามอินในการก่อสร้างมัสยิดฯ หลังนี้ ซึ่งได้รับค่าแรงเป็นรายวัน จนในที่สุดมัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม(สามอิน) ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ด้วยงบประมาณเพียง 50 ล้านบาท นับเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ของพี่น้องชาวสามอินทุกคน และได้จัดงานฉลองเปิดป้ายมัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม(สามอิน) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 เวลา 09.30 น.โดย ฯพณฯ อาจารย์สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คณะทูตานุทูตของประเทศมุสลิม กรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยอิหม่ามมะห์มุด วงศ์เดอรี ประธานการก่อสร้าง ฮัจยีอิสมาแอล บุญมาเลิศ ฮัจยีอับดุลเลาะห์ บุญมาเลิศ คณะกรรมการมัสยิด อิหม่ามและกรรมการมัสยิดต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติอีกมากมายที่ให้เกียรติมาร่วมงานฉลองและแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวสามอิน และได้ร่วมถวายสดุดีแด่ศาสดานบีมูฮัมมัด (ซล.)   ขอพรต่อเอกองค์อัลเลาะห์(ซบ.) โปรดประทานความสลามัต เราะห์มัต ความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนบ้านสามอินและพี่น้องทุกท่านตลอดไป อามีน



รายละเอียดอื่นๆ

  -ไม่มีข้อมูล-
ที่อยู่ มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม

บ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 10
หมู่บ้าน/ชุมชน สามอิน ซอย ปรีดี พนมยงค์ 30
ถนน สุขุมวิท 71 ตำบล คลองเตยเหนือ
อำเภอ วัฒนา จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10110 ประเทศ ประเทศไทย

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม

โทรศัพท์ 027130393    
อีเมล [email protected] เว็บไซต์ www.masjidsamin.com
Facebook - Twitter -
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม
ลำดับที่
ชื่อ - นามสกุล
ตำแหน่ง
1
นายบัณฑิต  วงศ์เดอรี อิหม่าม
2
นายเสรี  พวงมณี คอเต็บ
3
นายสมศักดิ์  บุญมาเลิศ บิลาล
4
นายสุนทร  วงศ์เดอรี กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
5
นายปรีชา  แฉล้มวารี กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
6
นายสมคิด  บุญมาเลิศ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
7
นายบุญมา  อันนันนับ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
8
นายปริญญา  วงศ์เดอรี กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
9
นายประเสริฐ  หมื่นแผงวารี กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
10
นายชวลิต  วงศ์หวังจันทร์ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
11
นายสุขเกษม  เดชะชีพ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
12
นายสลาม  เดชะชีพ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
13
นายพงศักดิ์  มีสุวรรณ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
14
นายสง่า  นาคนาวา กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
ข้อมูลรายละเอียด มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม

ทะเบียนเลขที่ - วันจดทะเบียน -
อายุมัสยิด - จำนวนชั้น -
ความยาวอาคาร - ความกว้างอาคาร -
จำนวนความจุ - จำนวนสัปบุรุษ -
อาคารอื่นๆ -

แหล่งที่มาของข้อมูล มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม

ประเภทแหล่งที่มา - แหล่งที่มา -
ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล - เว็บไซต์ -

การเพิ่มและแก้ไขข้อมูล มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม

เพิ่มข้อมูลโดยคุณ - เพิ่มข้อมูลเมื่อ 20 มีนาคม 2555, 12:21 น.
ผู้แก้ไขข้อมูลล่าสุด admin แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2556, 22:49 น.
เพิ่มข้อมูลด้วย IP 124.120.186.216 แก้ไขข้อมูลด้วย IP 124.120.186.216
สถิติการเข้าชม 990 ครั้ง

รายงานผู้ดูแลระบบ
  แก้ไขข้อมูล
แจ้งแก้ไขข้อมูล
แจ้งลบข้อมูล
เวลาละหมาด มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม
เวลาละหมาด กรุงเทพมหานคร

เส้นทางไปยังมัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม
เปิดนำทางใน Google Maps

คลิกที่นี้ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นของ มัสยิดฮี่ดาย่าตุ้ลอิสลาม
-ไม่มีการแสดงความคิดเห็น-